เครื่องดนตรีสากลไประเภทสาย
เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments) เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้นี้ แม้ตัวของเครื่องดนตรี อาจทำจากวัสดุต่างๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่า เครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง เครื่องเป่าลมไม้แบ่งได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภทคือ
รีคอร์เดอร์ (Recorder) เป็นเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่าลมไม้ รีคอร์เดอร์สร้างขึ้นในปลายศตวรรษที่ 14 ถือกำเนิดในประเทศอังกฤษ นิยมเล่นในสมัยยุคกลาง และมีความเจริญสูงสุดในยุคบาโรค เป็นเครื่องเป่าที่มีลักษณะการเป่าแบบด้านตรง มีรูปแบบการเกิดเสียงแบบเดียวกันกับนกหวีด คือ บริเวณปากเป่านั้นจะทำเป็นช่องลม (Wind Way) เพื่อที่จะพุ่งเข้าไปกระทบกับปากนกแก้ว ทำให้อากาศเกิดการสั่นสะเทือน เกิดเป็นคลื่นเสียงภายในท่อ เกิดเป็นระดับเสียงต่างๆ ท่อของรีคอร์เดอร์มีรูปทรงกรวย คือ จากส่วนปลายของปากเป่าลงมายังส่วนปลายท่อจะค่อยๆ สอบลง และแคบสุดบริเวณปลายของรีคอร์เดอร์ ในปัจจุบันรีคอร์เดอร์เป็นเครื่องดนตรีสำหรับหัดเรียนดนตรีขั้นเบื้องต้น โดยเฉพาะในระดับชั้นมัธยมศึกษา เราสามารถเป่ารีคอร์เดอร์ได้ตามตั่วอย้างข้างล่างนี้
ฟลูต เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลูต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน
ปิคโคโล เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ รูปร่างคล้ายฟลุทแต่ขนาดเล็กกว่า และมีเสียงสูงกว่า 1 ออคเทฟ มีขนาดเล็กกว่าฟลุท 4 เท่า จึงทำให้มีคุณภาพเสียงที่สดใสและแหลมมาก เสียงในระดับต่ำของปิคโคโลจะดังไม่ชัดเจน ปิคโคโลจึงเหมาะที่จะใช้ในการเล่นในระดับเสียงกลางและเสียงสูงมากกว่าในระดับเสียงต่ำ ปิคโคโลในวงออร์เคสตรา คือในศตวรรษที่ 18 ด้วยสุ้มเสียงที่แหลมสูงของปิคโคโลนี้เองทำให้เราสามารถ ที่จะได้ยินเสียงปิคโคโลได้อย่างชัดเจน ถึงแม้ว่าเครื่องดนตรีชิ้นอื่นจะบรรเลงอยู่ก็ตาม
คลาริเน็ต(Clarinet) เป็นเครื่องดนตรีจำพวกเครื่องเป่าลมไม้(woodwind instruments) ที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยกลางเรียกว่า chalumeau แคลริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีที่มักทำจากไม้หรือพลาสติก ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ลิ้นเดี่ยว (single reed) ซึ่งรัดติดกับปากเป่าเช่นเดียวกับแซกโซโฟน ช่วงเสียงแคลริเน็ต (Bb) เริ่มตั้งแต่ D (เขียนว่า E แต่เล่นแล้วออกเสียง D เนื่องจากเป็นแคลริเน็ตบีแฟลต มีเสียงต่ำกว่าที่เขียนไว้ 1 tone) เรื่อยขึ้นไปประมาณ 3 ½ คู่แปด
โอโบ ที่ใช้ในปัจจุบันนี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ใช้ในการแสดงอุปรากรฝรั่งเศส เรียกว่า “Hautbois” หรือ “Hoboy” ในศตวรรษที่ 18 โอโบใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงออร์เคสตร้า เป็นเครื่องดนตรีเสียงสูงในกลุ่มเครื่องลมไม้ ซองในขณะนั้นมีรูปิดเปิดเพียง 2- 3 รูเท่านั้น ในศตวรรษที่ 19 โอโบได้พัฒนาในเรื่องระบบกลไก คีย์ กระเดื่อง สำหรับปิดเปิดรู เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงให้เล่นสะดวกมากขึ้น จนในที่สุดโอโบคือเครื่องดนตรีหลักที่จะต้องมีในวงดุริยางค์
คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn) เป็นเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่าลมไม้ เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ อยู่ในตระกูลเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีรูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบ ระดับเสียงต่ำกว่าโอโบและเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้องคอผู้เล่นเพื่อพยุงน้ำหนักของปี่ ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการเป่า ส่วนที่ต่อจากที่เป่า(ลิ้น) กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า “อองเกล (Angle)” ขึ้น ต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า English ส่วนคำว่า “คอร์” (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn)
บาสซูน เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าลมผ่านลิ้นเช่นเดียวกับโอโบ เป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้ลิ้นคู่ (double reed) รูปร่างของบาสซูน ค่อนข้างจะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ เนื่องจากความใหญ่โตของท่อลม ซึ่งมีความยาวถึง 109 นิ้ว แต่เพื่อไม่ให้ยาวเกะกะ จึงใช้วิธีทบท่อลิ่มให้เหลือความยาวประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนมีน้ำหนักมากจึงต้องมีสายคล้องคอช่วยพยุงน้ำหนัก (sling) เพื่อให้มือทั้งสองของผู้เล่นขยับไปกดแป้นต่าง ๆ ได้สะดวก บาสซูนได้รับฉายาว่าเป็น "ตัวตลกของวงดุริยางค์" (The Clown of the Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด… คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลก ที่มีอากัปกิริยากระโดดเต้นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์ เสียงของบาสซูนต่ำนุ่มลึก ถือเป็นแนวเบสของกลุ่มเครื่องลมไม้ นอกนั้นยังสามารถเล่นทำนองเดียวได้อย่างงดงามอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น